ภาษามณีปุรี หรือแมแต

    


ภาพ แผนที่อินเดียและมณิปูร

Refer to: https://www.britannica.com/place/Manipur


ภาพเครื่องแต่งกายสตรีชนเผ่าต่าง ๆ ในมณีปูร

ที่มา https://rootsandleisure.com/arambam-newton-singh-artist-manipur/


👳 ชาวมณิปุรี คือเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในเมืองมณิปูร ที่ตั้งอยู่ทางภาคอีสานของอินเดียติดกับพม่า ซึ่งชาวมณิปุรี ใช้ภาษามีแต (ตามอักษรเทวนาครีสะกดว่า मैतै เขียน แมแต ในไทยบางคนได้ยินเป็น เมเต แต่ตามการสะกดอักษรมีแตจริง ๆ คือ มิแต อ่าน "มีแต") ในขณะที่ชาวพม่าเรียกชาวมณิปุรีนี้ว่า "กะเต" (ကသည်) เรียกคนอินเดีย (ทั้งเหนือและใต้) ว่า "กะลา" หรือ "กุลา" (ကုလား) หมายถึงพวกมีผิวเข้ม เรียกคนที่มาจากประเทศไทยว่า "โยเดีย" (ယိုးဒယား) หมายถึงชาวอยุธยา โดยเหตุที่รูปร่างหน้าตาเป็นคนผิวเหลืองเหมือนกันทำให้ ชาวกะเต และโยเดียผสมกลมกลืนและอยู่ในสังคมพม่าได้ด้วยดี ในขณะที่พวกกะลา (หรือกุลา) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวฮินดูเชื้อสายทมิฬผิวดำ  มีปัญหาทางการเมือง และชาตินิยม จนเคยถูกขับไล่ครั้งใหญ่ให้ออกจากประเทศพม่ากลับไปยังประเทศอินเดีย ในช่วงการปกครองของนายพลเนวิน

ภาพ  พยัญชนะมีแตโบราณ มีครบตามอักษรธิเบตและสันสกฤต
ที่มา : https://omniglot.com/writing/manipuri.htm

   👳 ซึ่งชาวกะเต  (ကသည်)  ก็เป็นชนเผ่าที่มีความสามารถทางด้านการขี่ม้า เป็นอย่างมากจึงได้ถูกใช้เป็นทหารม้า หรือทหารปืนใหญ่ เวลาทำสงครามรบกับไทย 

  👳 และที่สำคัญพราหมณ์กะเต หรือ กะเตปอณณา (ကသည်းပုဏ္ဏား) ยังมีความสำคัญในการแนะนำการทำพิธีกรรมต่าง ๆ ในราชสำนักพม่า 

   👳 การศึกษาเกี่ยวกับชาวมณิปุรี จึงเป็นการศึกษารอยต่อทางวัฒนธรรมอินเดียในพม่า ที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมพราหมณ์ฮินดูในไทย


ภาพ สระมีแตโบราณ มีครบตามอักษรธิเบตและสันสกฤต
ที่มา : https://omniglot.com/writing/manipuri.htm



อักษรมณิปุรี หรืออักษรมีแตปัจจุบัน 

(เหลือน้อยลง)


















👳👳👳👳👳👳👳👳👳👳👳



หมายเหตุ 


1. อักษรมีแต (ตามอักษรมีแต) หรือแมแต (ตามฮินดี) ยังไม่เป็นที่นิยมหรืออินเตอร์มากพอ โดยมากภาษามณิปุรีหรือมีแตจึงใช้อักษรอังกฤษ หรือเบงกาลีเขียนหรือพิมพ์แทน แต่ก็มีฟอนต์พิเศษ (อักษรมีแต Meetei ปัจจุบัน) ให้ดาวน์โหลดลงเพิ่มเฉพาะเท่านั้น ดังนั้นถ้าพิมพ์ลงออนไลน์เช่น blog ต่าง ๆ แต่ถ้าผู้อ่านไม่มีฟอนต์มีแตในเครื่องคอม ฯ ก็ไม่อ่าน กลายเป็นตัวเหลี่ยมหรือกลับกลายเป็นอักษรอังกฤษ แล้วแต่ชนิดฟอนต์ที่ลง

2. แม้อักษรมีแตจะน้อยกว่าอักษรมณิปุรีโบราณที่มีทั้งสระเสียงสั้นยาว แต่บางครั้งสระสั้นก็จะออกเป็นเสียงยาวด้วย คือมีรูปน้อยลงแต่ความนิยมออกเสียงหลายคำคงเดิม น่าจะต้องจำเป็นคำ ๆ ไป

































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สอบปฏิบัติสนทนาภาษาพม่า 1

ภาษาพม่าพื้นฐาน (สอบปฏิบัติ 3)

อักษรมอญ และภาษาเขมร 1